"ซีพี"วางแผนตั้งรง.ผลิตยางรถยนต์ ลุยสร้างโรงงานยางแท่งจ.เลย-ซื้อตรงเกษตรกร
CP เตรียมเปิดโรงงานยางแท่งแห่งแรกในไทยที่ จ.เลย กำลังผลิต 40,500 ตัน/ปี มุ่งเป้าทำยาง STR10 ใช้โมเดลสมัครสมาชิกรับซื้อยางจากชาวสวนโดยตรง ตัดวงจรโบรกเกอร์กดราคา ส่งเสริมทำยางก้อนถ้วยคุณภาพ ให้ค่าพรีเมี่ยมสูงกว่าราคาตลาด เผยเล็งตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ในอนาคต
นาย ขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์การเกษตร จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เปิดเผยว่า CP กำลังก่อสร้างโรงงานยางพาราแบบแท่งแห่งแรกของ CP ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย กำลังการผลิต 150 ตัน/วัน หรือประมาณ 40,500 ตัน/ปี (ยางแห้ง) ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 52% คาดว่าจะเปิดเดินเครื่องได้ในเดือนมีนาคม 2558 ตรงกับฤดูเปิดกรีดฤดูกาลหน้าของ จ.เลย
นายขุนศรีกล่าวว่า การเปิดโรงงานยางแท่งของ CP ที่ จ.เลยจะไม่ใช้การรับซื้อยางผ่านโบรกเกอร์ แต่เป็นโมเดลใหม่โดยร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.เลย และ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เพื่อเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงให้ทำยางก้อนถ้วยคุณภาพดี พัฒนาดิน ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร และงดการกรีดยางต้นเล็ก ซึ่งเกษตรกรที่ร่วมเป็นสมาชิกกับ CP จะได้รับค่าพรีเมี่ยมสูงกว่าราคาตลาดเมื่อสามารถผลิตยางคุณภาพให้แก่ CP โดยเบื้องต้นอาจให้เพิ่ม 1 บาท/กก. และเมื่อ CP มาตั้งโรงงานในแหล่งผลิตจะสามารถเข้าไปรับซื้อโดยตรงได้ เป็นการตัดวงจรโบรกเกอร์กดราคาและค่าขนส่ง เนื่องจากก่อนหน้านี้ จ.เลยยังไม่มีโรงงานยางพาราทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าขนส่งไปที่โรงงานใน จ.บึงกาฬประมาณ 4 บาท/กก.
"เราติดต่อเกษตรกรเป็นรายคน แต่เวลาประชุมเราก็พยายามจัดรวมกลุ่มโดยมีหัวหน้ากลุ่ม มีเกษตรกรร่วมกับเราทั้งหมด 7,000 ราย ใน 8 อำเภอซึ่งเป็นเขต 30 กม.รอบโรงงาน พื้นที่รวม 1.5 แสนไร่" นายขุนศรีเผยนายขุนศรีกล่าวว่า CP เลือก จ.เลยเป็นแห่งแรกในการตั้งโรงงานยาง เนื่องจากโมเดลส่งเสริมเกษตรกรโดยตรงแบบนี้ต้องอาศัยเกษตรกรที่พร้อม เปลี่ยนแปลง และ CP เคยมีโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ที่ จ.เลยอยู่แล้ว
"เราต้องทำหน้าที่พัฒนาเกษตรกรให้ด้วย ทำอย่างไรให้ประสิทธิภาพการผลิตเขาเพิ่มขึ้น ได้คุณภาพดี แก้ปัญหาน้ำยางในถ้วยให้สะอาดเพื่อลดต้นทุนโรงงานในการล้างยางหรือตัดแต่ง ยางที่สกปรกด้วย เราก็ต้องพัฒนาเกษตรกรให้ดูแลยางอย่างถูกวิธี"
นาย ขุนศรีเปิดเผยว่า CP ตั้งเป้าหมายในการวิเคราะห์ดินเพื่อทำปุ๋ยสั่งตัดจำหน่ายให้เกษตรกร ว่าจะสามารถเพิ่มอัตราน้ำยางได้ 10% จากเดิมที่สวนยางพาราใน จ.เลยมีอัตราน้ำยางเฉลี่ย 255 กก./ไร่ ซึ่งปุ๋ยสั่งตัดนี้ไม่ได้เป็นการบังคับให้ชาวสวนซื้อจาก CP เท่านั้น แต่ยืนยันว่าค่าปุ๋ยต่อไร่จะลดลงกว่าเดิม เพราะใส่ปุ๋ยตรงกับความต้องการ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และจะส่งเสริมให้ชาวสวนใช้ถ้วยรับน้ำยางแบบมีฝาปิดเพื่อกันน้ำฝน แมลง และสิ่งสกปรก
ด้านโรงงานยางพาราแห่งแรกของ CP มีพื้นที่ 134 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย มีเป้าหมายที่จะเป็นโรงงานยางแท่ง STR10 เน้นคุณภาพดีสำหรับส่งออกจำหน่ายให้โรงงานทำยางล้อรถยนต์ สามารถรับยางแห้งได้ 40,500 ตัน/ปี หรือคิดเป็นยางสดกว่า 1 แสนตัน/ปี ขณะที่พื้นที่สวนยาง 1.5 แสนไร่ ซึ่งเป็นสมาชิกของ CP สามารถผลิตยางสดได้ประมาณ 9 หมื่นตัน/ปี ดังนั้นโรงงานนี้ จะสามารถรองรับยางพาราของสมาชิกได้ทั้งหมด"การทำยางแท่งนั้นลดขั้นตอนการ ผลิตมากกว่ายางแผ่น และมีมาตรฐานตรวจวัดชัดเจน เมื่อก่อนประเทศไทยทำเป็นแต่น้ำยางข้นกับยางแผ่น แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นยางแท่งกว่า 80% ต่อไปเทรนด์โลกก็น่าจะเปลี่ยนเป็นยางแท่งเกือบทั้งหมด"
"ตลาดอนาคต เรามุ่งไปสู่การผลิตยางล้อ การจะมุ่งไปเราก็ต้องทำพื้นฐานให้ดีก็คือเรื่องยางแท่งก่อน เป็นวิสัยทัศน์ในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า คิดว่ามีโอกาสที่จะทำเพราะเรามีการร่วมทุนผลิตรถยนต์แบรนด์ MG สายพันธุ์อังกฤษในเมืองไทยอยู่ และเป็นผู้ถือหุ้นอิโตชูส่วนหนึ่ง" นายขุนศรีกล่าว
ด้านนายอภิรัตน์ วงศ์สง่า ประธานกลุ่มยาง>บ้านภูทับฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มชาวสวนยางที่ร่วมเป็นสมาชิกกับ CP เปิดเผยว่า การทำสัญญากับ CP ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีกว่า สัญญาที่ตกลงกันถือว่าเป็นธรรม มีการระบุไว้ว่า หาก CP ให้ราคาต่ำกว่าราคาตลาด ชาวสวนยางสามารถเลือกไม่จำหน่ายให้กับ CP ได้ และการลงทุนเพิ่มฝาปิดถ้วยรับน้ำยางก็ไม่ใช่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาก"โรงงาน CP ยังไม่ตัดสินใจเรื่องราคา แต่จะให้แพงขึ้น อย่างน้อยเรามองว่าคุ้มค่าฝาที่เพิ่มขึ้นมาแน่นอน" นายอภิรัตน์กล่าว
อนึ่งใน จ.เลย ยังมีโรงงานยางของ บ.เซาธ์แลนด์ ในเครือ บมจ.ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี (STA) กำลังก่อสร้างอยู่ใน จ.เลยเช่นกัน
นาย ขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์การเกษตร จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP เปิดเผยว่า CP กำลังก่อสร้างโรงงานยางพาราแบบแท่งแห่งแรกของ CP ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย กำลังการผลิต 150 ตัน/วัน หรือประมาณ 40,500 ตัน/ปี (ยางแห้ง) ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 52% คาดว่าจะเปิดเดินเครื่องได้ในเดือนมีนาคม 2558 ตรงกับฤดูเปิดกรีดฤดูกาลหน้าของ จ.เลย
นายขุนศรีกล่าวว่า การเปิดโรงงานยางแท่งของ CP ที่ จ.เลยจะไม่ใช้การรับซื้อยางผ่านโบรกเกอร์ แต่เป็นโมเดลใหม่โดยร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ.เลย และ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เพื่อเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงให้ทำยางก้อนถ้วยคุณภาพดี พัฒนาดิน ใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร และงดการกรีดยางต้นเล็ก ซึ่งเกษตรกรที่ร่วมเป็นสมาชิกกับ CP จะได้รับค่าพรีเมี่ยมสูงกว่าราคาตลาดเมื่อสามารถผลิตยางคุณภาพให้แก่ CP โดยเบื้องต้นอาจให้เพิ่ม 1 บาท/กก. และเมื่อ CP มาตั้งโรงงานในแหล่งผลิตจะสามารถเข้าไปรับซื้อโดยตรงได้ เป็นการตัดวงจรโบรกเกอร์กดราคาและค่าขนส่ง เนื่องจากก่อนหน้านี้ จ.เลยยังไม่มีโรงงานยางพาราทำให้เกษตรกรต้องเสียค่าขนส่งไปที่โรงงานใน จ.บึงกาฬประมาณ 4 บาท/กก.
"เราติดต่อเกษตรกรเป็นรายคน แต่เวลาประชุมเราก็พยายามจัดรวมกลุ่มโดยมีหัวหน้ากลุ่ม มีเกษตรกรร่วมกับเราทั้งหมด 7,000 ราย ใน 8 อำเภอซึ่งเป็นเขต 30 กม.รอบโรงงาน พื้นที่รวม 1.5 แสนไร่" นายขุนศรีเผยนายขุนศรีกล่าวว่า CP เลือก จ.เลยเป็นแห่งแรกในการตั้งโรงงานยาง เนื่องจากโมเดลส่งเสริมเกษตรกรโดยตรงแบบนี้ต้องอาศัยเกษตรกรที่พร้อม เปลี่ยนแปลง และ CP เคยมีโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ที่ จ.เลยอยู่แล้ว
"เราต้องทำหน้าที่พัฒนาเกษตรกรให้ด้วย ทำอย่างไรให้ประสิทธิภาพการผลิตเขาเพิ่มขึ้น ได้คุณภาพดี แก้ปัญหาน้ำยางในถ้วยให้สะอาดเพื่อลดต้นทุนโรงงานในการล้างยางหรือตัดแต่ง ยางที่สกปรกด้วย เราก็ต้องพัฒนาเกษตรกรให้ดูแลยางอย่างถูกวิธี"
นาย ขุนศรีเปิดเผยว่า CP ตั้งเป้าหมายในการวิเคราะห์ดินเพื่อทำปุ๋ยสั่งตัดจำหน่ายให้เกษตรกร ว่าจะสามารถเพิ่มอัตราน้ำยางได้ 10% จากเดิมที่สวนยางพาราใน จ.เลยมีอัตราน้ำยางเฉลี่ย 255 กก./ไร่ ซึ่งปุ๋ยสั่งตัดนี้ไม่ได้เป็นการบังคับให้ชาวสวนซื้อจาก CP เท่านั้น แต่ยืนยันว่าค่าปุ๋ยต่อไร่จะลดลงกว่าเดิม เพราะใส่ปุ๋ยตรงกับความต้องการ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และจะส่งเสริมให้ชาวสวนใช้ถ้วยรับน้ำยางแบบมีฝาปิดเพื่อกันน้ำฝน แมลง และสิ่งสกปรก
ด้านโรงงานยางพาราแห่งแรกของ CP มีพื้นที่ 134 ไร่ ตั้งอยู่ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย มีเป้าหมายที่จะเป็นโรงงานยางแท่ง STR10 เน้นคุณภาพดีสำหรับส่งออกจำหน่ายให้โรงงานทำยางล้อรถยนต์ สามารถรับยางแห้งได้ 40,500 ตัน/ปี หรือคิดเป็นยางสดกว่า 1 แสนตัน/ปี ขณะที่พื้นที่สวนยาง 1.5 แสนไร่ ซึ่งเป็นสมาชิกของ CP สามารถผลิตยางสดได้ประมาณ 9 หมื่นตัน/ปี ดังนั้นโรงงานนี้ จะสามารถรองรับยางพาราของสมาชิกได้ทั้งหมด"การทำยางแท่งนั้นลดขั้นตอนการ ผลิตมากกว่ายางแผ่น และมีมาตรฐานตรวจวัดชัดเจน เมื่อก่อนประเทศไทยทำเป็นแต่น้ำยางข้นกับยางแผ่น แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นยางแท่งกว่า 80% ต่อไปเทรนด์โลกก็น่าจะเปลี่ยนเป็นยางแท่งเกือบทั้งหมด"
"ตลาดอนาคต เรามุ่งไปสู่การผลิตยางล้อ การจะมุ่งไปเราก็ต้องทำพื้นฐานให้ดีก็คือเรื่องยางแท่งก่อน เป็นวิสัยทัศน์ในระยะ 10-15 ปีข้างหน้า คิดว่ามีโอกาสที่จะทำเพราะเรามีการร่วมทุนผลิตรถยนต์แบรนด์ MG สายพันธุ์อังกฤษในเมืองไทยอยู่ และเป็นผู้ถือหุ้นอิโตชูส่วนหนึ่ง" นายขุนศรีกล่าว
ด้านนายอภิรัตน์ วงศ์สง่า ประธานกลุ่มยาง>บ้านภูทับฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มชาวสวนยางที่ร่วมเป็นสมาชิกกับ CP เปิดเผยว่า การทำสัญญากับ CP ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีกว่า สัญญาที่ตกลงกันถือว่าเป็นธรรม มีการระบุไว้ว่า หาก CP ให้ราคาต่ำกว่าราคาตลาด ชาวสวนยางสามารถเลือกไม่จำหน่ายให้กับ CP ได้ และการลงทุนเพิ่มฝาปิดถ้วยรับน้ำยางก็ไม่ใช่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาก"โรงงาน CP ยังไม่ตัดสินใจเรื่องราคา แต่จะให้แพงขึ้น อย่างน้อยเรามองว่าคุ้มค่าฝาที่เพิ่มขึ้นมาแน่นอน" นายอภิรัตน์กล่าว
อนึ่งใน จ.เลย ยังมีโรงงานยางของ บ.เซาธ์แลนด์ ในเครือ บมจ.ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี (STA) กำลังก่อสร้างอยู่ใน จ.เลยเช่นกัน